เมนู

ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิตกนี้ และด้วยวิจารนี้* ถึง
เนื้อความแม้ในคัมภีร์นั้น ก็พึงเห็นเหมือนอย่างนี้แหละ.
ในบทว่า วิเวกชํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ : - ความสงัด ชื่อว่า วิเวก.
อธิบายว่า ความปราศจากนิวรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมที่สงัดจากนิวรณ์
ชื่อว่า วิเวก เพราะอรรถว่า สงัดแล้ว, อธิบายว่า กองแห่งธรรมอันสัมปยุต
ด้วยฌาน. ปีติ และสุข เกิดจากวิเวกนั้น หรือเกิดในวิเวกนั้น เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า วิเวกชัง.

[อรรถาธิบายองค์ฌาน คือ ปีติ และสุข]


ในบทว่า ปีติสุขํ มีวินิจฉัยดังนี้ : - ธรรมชาติที่ชื่อว่า ปีติ เพราะ
อรรถว่า ทำให้เอิบอิ่ม. ปีตินั้น มีความปลาบปลื้มเป็นลักษณะ มีความอิ่ม
กายและจิตเป็นรส, อีกอย่างหนึ่ง มีความแผ่ไปเป็นรส มีความเบิกบานใจ
เป็นปัจจุปัฏฐาน. ความสบาย ชื่อว่า ความสุข. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติที่
ชื่อว่า ความสุข เพราะอรรถว่า ย่อมเคี้ยวกิน และขุดเสียด้วยดี ซึ่งอาพาธ
ทางกายและจิต. ความสุขนั้นมีความสำราญเป็นลักษณะ มีอันเข้าไปพอกพูน
ซึ่งธรรมที่สัมปยุตด้วยความสุขนั้นเป็นรส มีความอนุเคราะห์เป็นเครื่องปรากฏ.
ก็เมื่อความไม่พรากจากกันแห่งปีติและสุขเหล่านั้นในจิตตุปบาทลางขณะ
แม้มีอยู่ ปีติ คือ ความยินดีด้วยการได้อิฏฐารมณ์, สุข คือความเสวยรส
แห่งอารมณ์ที่ตนได้แล้ว. ปีติ มีอยู่ใจจิตตุปบาทใด สุข ก็มีอยู่ในจิตตุปบาท
นั้น. สุข มีอยู่ในจิตตุปบาทใด, ในจิตตุปบาทนั้น โดยความนิยม ไม่มีปีติ.
ปีติ ท่านสงเคราะห์เข้าเป็นสังขารขันธ์, สุข ท่านสงเคราะห์เข้าเป็นเวทนา-
ขันธ์, ปีติ เปรียบเหมือนความอิ่มใจ ของบุคคลผู้เหน็ดเหนื่อยในทางกันดาร
* อภิ. วิ. 35 / 347.